ที่นอนลม (Mattress)
ที่นอนลม (Mattress) คือ ที่นอนที่ทำจากเนื้อพลาสติก ออกแบบให้ขยับได้เพื่อลดแรงกดทับ เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมานานช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับในระดับที่ 1-4 แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ที่นอนลมแบบลอน และแบบรังผึ้ง ซึ่งที่นอนลมแบบลอนจะบำรุงรักษาเปลี่ยนลอนได้ง่ายกว่า
- ✿ ที่นอนลมชนิดรังผึ้ง : เป็นที่นอนลมรังผึ้ง (ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ,ที่นอนลมผู้ป่วย) ด้วยหลักการสลับความดันทําให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ขนาด 2,000 x 900 มม. รับน้ำหนักได้สูงสุด 135 กก. รับประกัน 6 เดือน
- ✿ ที่นอนลมชนิดลอน : พื้นที่นอนลมประกอบด้วยลูกลม 20 ลูกวางเรียงกันโดยมีสายรัดส่วนหัวและส่วนท้ายแต่ละลอน ทำจากไนลอนพีวีซี รองรับน้ำหนักได้ 140-146 กก. ใช้ไฟ 220 โวลต์ ใช้เวลาอัดลม 15-20 นาที
ประโยชน์ของที่นอนลม 
- 1. ป้องกันแผลกดทับ
ที่นอนลมเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่นอนทั่วไป ถูกออกแบบให้เกิดความสมดุลเวลานอน ผิวหนังจะไม่ถูกกดทับเฉพาะจุด ด้วยความนุ่มของที่นอน และความยืดหยุ่น ทำให้สามารถป้องกันแผลกดทับได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ผลิกตัวไปมาลำบาก ก็ช่วยให้นอนสบายมากขึ้น ไม่เจ็บและทรมารจากแผลกดทับ
- 2. หาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป
ปัจจุบันที่นอนลมรังผึ้ง ที่นอนลมแบลอนมีจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไป สามารถหาซื้อข้างบ้านได้สะดวก แต่ควรเลือกร้านที่ขายอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น ไม่ควรซื้อในราคาที่ต่ำเกินจริง เพราะอาจจะได้สินค้าที่เสียหายได้ง่าย เพราะไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน เพราะฉะนั้นควรเลือกที่นอนลมที่มีตรามาตรฐานรับรองเท่านั้น
- 3. เคลื่อนย้ายและดูแลรักษาได้ง่าย
เป็นที่นอนลมที่มีน้ำมันเบามาก รองรับน้ำหนักได้กว่าร้อยกิโลกรัม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้กับผู้ป่วยติดเตียง และยังดูแลรักษาได้ง่าย
- 4. ผู้ป่วยนอนหลับสบายมากขึ้น
ปกติร่างกายของคนเรา จะมีการระบายอากาศ หรือถ่ายเทอากาศความร้อนออกจากร่างกายสม่ำเสม ออกจากผิวหนัง เมื่อผิวหนังของเราถูกกดทับ หรือระบายอากาศออกไปไม่ได้ ก็จะเกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งที่นอนลม สามารถช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา ทำให้คนไข้หรือผู้ป่วยติดเตียง นอนหลับสบายมากขึ้น
- 5. ใช้งานง่าย
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ 
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่ไม่รู้สึกตัว หรือเป็นอัมพาต นอนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานานไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้มีการจำกัดการเคลื่อนไหว หรือจำกัดกิจกรรมเช่น ผู้ที่ใส่เฝือกหลังการผ่าตัดใหญ่
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ป่วยที่มีความเปียกชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ หรือปัสสาวะราดบ่อย ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นด่าง ความสามารถในการต้านเชื้อโรคจากแบคทีเรียลดลง ทำให้เนื้อเยื่อได้รับการระคายเคือง เกิดการฉีกขาดได้ง่าย และเกิดแผลกดทับในที่สุด
ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้มีระดับโปรตีนในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้มีอาการบวมซึ่งเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนเลือดในการส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ จึงเกิดแผลกดทับ เกิดแผลได้ง่าย และแผลจะหายช้า
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือผอม ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น มีโอกาสเกิดแผลกดทับได้มากกว่า
ʕ·ᴥ·ʔ แรงกดและแรงเสียดทานทำให้เนื้อเยื่อเกิดการบาดเจ็บฉีกขาดได้ง่าย มักพบในรายที่เป็นอัมพาตต้องยกผู้ป่วยบ่อยจึงทำให้เกิดแผลกดทับได้ง่าย
ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส (Celsius) ทำให้มีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น เป็นปัจจัยเสริมให้เซลล์และเนื้อเยื่อขาดเลือดและเนื้อเยื่อตายได้ง่าย
ʕ·ᴥ·ʔ ยิ่งอายุมากขึ้นหมายความว่า ร่างกายของเราจะฟื้นตัวได้ช้าลง จึงเพิ่มความรุนแรงของแผลกดทับ
ตำแหน่งที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ⚡
✿ ท่านอนหงาย : ท้ายทอย ใบหู ด้านหลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า
✿ ท่านอนคว่ำ : ใบหูและแก้ม หน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ ปุ่มกระดูกสะ โพก หัวเข่า ปลายเท้า
✿ ท่านอนตะแคง : ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้นกบ ปุ่มกระดูกต้นขา ฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม
✿ ท่านั่ง : ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้นกบ หัวเข่าด้านหน้า กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก
ระดับความรุนแรงของแผลกดทับ ⚡
ระดับที่ 1 ผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับจะเป็นรอยแดง ไม่มีรอยฉีกขาด แต่สีของผิวหนังอาจเป็นสีแดงคล้ำเพราะมีการคั่งของเลือดจากการกดทับ รอยแดงจะไม่หายไปภายใน 30 นาทีเมื่อเปลี่ยนท่า
ระดับที่ 2 มีการสูญเสียผิวหนังบางส่วนถึงชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังอาจฉีกขาดหรือไม่ฉีกขาดเช่น รอยถลอก เป็นตุ่มพองอาจมีน้ำเหลืองบริเวณตุ่มน้ำที่แตกออกหรือเป็นแผลตื้นๆ โดยไม่มีเนื้อตาย
ระดับที่ 3 มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด เกิดแผลลึกถึงชั้นใต้ผิวหนัง ชั้นพังผืด แต่ไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก อาจเป็นหลุมลึกหรือเป็นโพรงใต้ขอบแผลอาจพบเนื้อตายบางส่วนของแผล
ระดับที่ 4 มีการสูญเสียผิวหนังทั้งหมด มองเห็นชั้นกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ พื้นแผลอาจมีเนื้อตายหรือสะเก็ดแข็งปกคลุมบางส่วน และส่วนใหญ่มีโพรงและช่องใต้ขอบแผล
การป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ
ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดแรงกด ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น หมั่นตรวจสอบบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับทุกวัน สังเกตรอยแดงของผิว หากมีรอยแดงถือว่ามีโอกาสเสี่ยงที่บริเวณดังกล่าวจะเกิดแผลกดทับ
การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด เช่น ที่นอนโฟม หรือที่นอนลม ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ใช้เบาะรองก้นในผู้ที่นั่งรถเข็น ยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 15 – 30 นาที เพราะจะช่วยลดแรงกดทับบริเวณก้นกบ ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายเช่น ผ้ายกตัว แผ่นรองตัวขณะเคลื่อนย้าย (Pat slide)
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หลังทำความสะอาด ร่างกายควรทาครีม ทาโลชั่น หรือน้ำมันมะกอก วันละ 3 – 4 ครั้งเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้นป้องกันผิวแห้งและฉีกขาด ผู้ที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่ายและซับให้แห้ง พร้อมใช้ปิโตรเลียม เจลลี่ หรือวาสลีน (Vaseline) ทาหนาๆบริเวณรอบๆปากทวารหนัก และแก้มก้นทั้ง 2 ข้างเพื่อป้องกันการระคายผิวหนังจากความเปียกชื้น ในรายที่ไม่สามารถควบคุมการถ่ายอุจจาระควรใช้ แผ่นรองก้น (Blue pad) แทนการใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพราะมีโอกาสเกิดการอับชื้นได้ง่ายและเกิดแผลกดทับตามมา
ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดการอับชื้นของผิวหนัง
ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาด แห้งและเรียบตึงเสมอเพื่อลดความเปียกชื้นและลดแรงเสียดทาน
สวมใส่เสื้อผ้าที่พอดีไม่คับแน่นเกินไป จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อและปมผูกต่างๆเพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนัง
เลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ได้รับอาหารครบตามหลักโภชนาการ (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่) โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี และดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้วจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และผิวหนังยืดหยุ่นมีความชุ่มชื้น