กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) 

 รู้จัก “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” กันก่อน 

 
     การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจาก เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการขึ้นมา มักจะเกิดในผู้หญิง เนื่องจากท่อปัสสาวะสั้น และรูเปิดของท่อปัสสาวะอยู่ใกล้ทวารหนัก จึงทำให้เชื้อสามารถเข้าไปในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ส่วนใหญ่พบในหญิงวัยเจริญพันธ์แต่ก็สามารถพบได้ในเด็ก การมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ เมื่อเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและแบ่งตัวมากกว่าถูกขับออกไปจึงทำให้เกิดโรคได้ 
 
     อาการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างแรกและเด่นชัดที่สุด คือ รู้สึกปวดปัสสาวะมากและบ่อย แต่เมื่อไปเข้าห้องน้ำกลับถ่ายปัสสาวะได้เพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และตามมาด้วยอาการเจ็บอย่างรุนแรง บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาในปัสสาวะได้ อาจมีอาการปวดท้องน้อยรวมทั้งอาการครั่นเนื้อครั่นตัวร่วมด้วย 

ผลิตภัณฑ์สำหรับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ที่เราแนะนำ

  • Blackmores Cranberry 15000 + C แบล็คมอร์ แครนเบอร์รี่
    Blackmores Cranberry 15000 + C แบล็คมอร์ แครนเบอร์รี่

  • VISTRA Vaginy 500mg. 30 เม็ด วิสทร้า วาจินี่
    VISTRA Vaginy 500mg. 30 เม็ด วิสทร้า วาจินี่

  • INTERPHARMA PROBAC 10plus Probiotic 60g. อินเตอร์ฟาร์มา โปแบค เท็นพลัช โปรไบโอติก 60กรัม
    INTERPHARMA PROBAC 10plus Probiotic 60g. อินเตอร์ฟาร์มา โปแบค เท็นพลัช โปรไบโอติก 60กรัม

 รู้หรือไม่ว่า “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ” เกิดจากอะไร?  
     กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis หรือ Lower urinary tract infection) คือ โรคที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง โดยพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปพบสูงในช่วงอายุ 20 - 50 ปี พบในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชายมาก ทั้งนี้อธิบายได้จากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นปากท่อปัสสาวะของผู้หญิงยังเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อทั้งจากช่องคลอดและจากทวารหนักได้สูงกว่าในผู้ชาย 

 
     กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบได้ทั้งจากการอักเสบเฉียบพลันที่มีอาการเกิดทันทีและรักษาหายได้ภายใน 2 - 3 สัปดาห์ หรือจากการอักเสบเรื้อรังซึ่งมักมีอาการอักเสบเป็นๆหายๆเรื้อรัง แต่มีอาการรุนแรงน้อยกว่าการอักเสบเฉียบพลัน 

อาการใดบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็น “โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ” 

 

  •     ★ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะครั้งละน้อยๆ ปวด เบ่ง แสบ โดยเฉพาะตอนสุดปัสสาวะ 
  •     ★ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า คือ ปัสสาวะสีชมพูหรือเป็นเลือด หรือตรวจพบเม็ดเลือดแดงได้จากการตรวจปัสสาวะ 
  •     ★ ปัสสาวะขุ่น (ปัสสาวะปกติต้องใส) หรืออาจเป็นหนองขึ้นกับความรุนแรงของโรค และ/หรือ มีกลิ่นผิดปกติ 
  •     ★ ปวดท้องน้อย 
  •     ★ มีไข้ มีได้ทั้งไข้สูงและไข้ต่ำ แต่มักไม่มีไข้เมื่อเป็นการอักเสบเรื้อรัง 
  •     ★ บางครั้งอาจมีสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วยเมื่อเกิดจากติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 
  •     ★ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนได้เมื่อเป็นการติดเชื้อเฉียบพลัน 
  •     ★ อาจมีนิ่วปนออกมาในปัสสาวะเมื่อเกิดร่วมกับนิ่วในไตหรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 


 ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ enlightened

 

    ★ ผู้หญิง 
    ★ ผู้สูงอายุ เพราะสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ขาดคนดูแล 
    ★ การกลั้นปัสสาวะนานๆ 
    ★ ดื่มน้ำน้อย ปัสสาวะจึงแช่ค้างหรือกักคั่งในกระเพาะปัสสาวะ แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ดี 
    ★ โรคเบาหวาน เป็นโรคก่อการอักเสบติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆได้ง่าย รวมทั้งของกระเพาะปัสสาวะ 
    ★ โรคที่ต้องนั่งๆนอนๆตลอดเวลา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์/อัมพาต ส่งผลให้ปัสสาวะแช่ค้างอยู่นานในกระเพาะปัสสาวะ 
    ★ การใช้สายสวนปัสสาวะ โดยเฉพาะต้องคาสายสวนปัสสาวะนานๆหรือตลอดเวลา เพราะกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะจะเกิดการบาดเจ็บจากสายสวนนั้น จึงติดเชื้อได้ง่าย 
    ★ มีโรคเรื้อรังของท่อปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะตีบจากสาเหตุต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงมักมีปัสสาวะแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ แบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้เร็ว 
    ★ โรคติดเชื้อของไต โรคนิ่ว ทั้งนิ่วในไตและนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ 
    ★ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) 
    ★ หญิงตั้งครรภ์ เพราะการกดเบียดทับของครรภ์ต่อกระเพาะปัสสาวะมักก่อปัญหาปัสสาวะไม่หมด 
    ★ ใช้สเปรย์ดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ เพราะจะก่อการระคายเคืองเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะ และปากช่องคลอด เพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ 
    ★ ผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ หรือการใช้ฝา/หมวกครอบปากมดลูก (Cervical diaphragm) เป็นสาเหตุก่อการระคายเคืองและบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น 
    ★ ในผู้ชาย มักพบสัมพันธ์กับต่อมลูกหมากโตและ/หรือต่อมลูกหมากอักเสบ ส่งผลให้ปัสสาวะไม่หมด 

 

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ yes

 

  1.     1. ควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ ประมาณ 6-8 แก้ว ต่อวัน (เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดการปวดแสบปวดร้อน เวลาปัสสาวะได้
  2.     2. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
  3.     3. หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล 
  4.     4. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานานๆ 
  5.     5. การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือภายหลังการขับถ่าย(ในผู้หญิง) ต้องทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ
  6.     6. ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  7.     7. ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศเพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  8.     8. ควรอาบน้ำจากฝักบัว หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  9.     9. ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรง
  10.    10. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของโรค หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย และอาจกลายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังจากเชื้อดื้อยาได้


เอกสารอ้างอิง 

• ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=9 
• รศ.นท.ดร.สมพลเพิ่มพงศ์โกศล. การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/Urinary%20tract%20infection.pdf 
• แพทย์หญิงวิกานดา รัตนพันธ์. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) : การรักษา ประเภท อาการ สาเหตุ. [Internet]. 
เข้าถึงได้จาก: https://bupa.co.th/cystitis-0131/ 

 

เอกสารอ้างอิง