กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยา ( Syring and Hypodermic needle)
กระบอกฉีดยาเป็นอุปกรณ์ทางแพทย์ ประกอบด้วยลูกสูบที่บรรจุในกระบอกสูบที่เรียกว่าบาร์เรล ลูกสูบสามารถดึงและผลักไปตามแนวยาวภายในหลอดช่วยให้กระบอกฉีดยาสามารถใช้ในการและขับของเหลวหรือก๊าซผ่านปากไหลออกที่ปลายด้านหน้าของหลอด ปลายเปิดของหลอดฉีดยาอาจติดตั้งด้วยเข็มฉีดยาใต้ผิวหนังหัวฉีดหรือท่อเพื่อควบคุมการไหลเข้าและออก โดยส่วนปลายกระบอกสูบสามารถใช้ร่วมกับเข็มฉีดยาได้หลายขนาด ถือเป็นเข็มฉีดยารูปแบบมาตรฐานชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่นิยมใช้งานทั่วไปกันอย่างแพร่หลายในงานทางการแพทย์ คลินิกเสริมความงาม หรืองานทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ส่วนประกอบของกระบอกฉีดยาประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- 1. ส่วนปลายสุด (TIP)ใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา
- 2. ตัวกระบอกฉีดยา (Cylindrical barrel)เป็นส่วนที่มีมาตราบอกจำนวนยา
- 3. ลูกสูบ (Plunger)เป็นส่วนที่สวมอยู่ในกระบอกฉีดยา ส่วนของกระบอกฉีดยาที่ต้องรักษาให้ปราศจากเชื้อ คือ ส่วนปลายสุด และตัวลูกสูบ
การเลือกใช้กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาตามหลักการแพทย์นั้น ถ้าต้องการจัดเตรียมยาในปริมาณที่มีจำนวนน้อยกว่า 1 ม.ล. ให้ใช้กระบอกเข็มฉีดยาแบบอินซูลินหรือทูเบอร์คูลิน โดยทั้ง 2 กระบอกนี้ ใช้ในการฉีดยาอินซูลินรวมทั้งการทดสอบภูมิแพ้ตามลำดับ แต่สำหรับการเตรียมยาธรรมดาทั่วไป จะใช้กระบอกเข็มฉีดยาแบบธรรมดา และขนาดของกระบอกเข็มฉีดยาก็ขึ้นอยู่กับจำนวนยาที่ต้องการใช้ด้วย หัวเข็มฉีดยา ก็มีทั้งแบบสเตนเลส หรือแบบพลาสติก ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ส่วนประกอบของเข็มฉีดยา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ʕ·ᴥ·ʔ รอยบากปลายเข็ม
ʕ·ᴥ·ʔ ตัวเข็ม เป็นส่วนที่ต่อจากตัวเข็ม
ʕ·ᴥ·ʔ หัวเข็ม ใช้สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยา
การเลือกใช้ขนาดความยาวของเข็ม
ʕ·ᴥ·ʔ ความแหลมคม ซึ่งขึ้นอยู่กับรอยบากปลายเข็ม ยิ่งรอยบากมีเยอะมากเข็มจะยิ่งคม พอเข็มยิ่งคมก็จะทำให้เจ็บน้อยลง
ʕ·ᴥ·ʔ ความยาวของเข็ม มีขนาดตั้งแต่ 3/8 – 5 นิ้ว ถ้าถามว่าต้องใช้ความยาวเข็มเท่าไหร่ต้องดูจากความลึกของตำแหน่งที่จะฉีด โดยมีความแตกต่างกันตามแต่ล่ะบุคคล เพราะขนาดของเนื้อเยื่อก็ความแตกต่างกันแล้ว รวมทั้งต้องดูจากวิถีการให้ยาอีกด้วย
Syringe กระบอกฉีดยา จะมีทั้งหมด 6 ขนาด
1ml, 3ml,5ml,10ml,20ml,50ml
ประกอบด้วยตัวสูบลมที่ปรับให้เหมาะพอดีในหลอดแก้ว (หรือพลาสติก) ตัวสูบลมอาจถูกดึง หรือผลักภายในหลอดทรงกระบอก ที่นำเข้า และขับออกซึ่งของเหลว หรือก๊าซผ่านปากที่เปิดกระบอก ตรงปากกระบอกอาจสวมต่อด้วยเข็มฉีดยา หัวปุ่ม หรือสายท่อ เพื่อช่วยกำหนดการไหลเข้า และออกจากกระบอกของยา มักใช้ในการให้ยาฉีด นำยาผ่านหลอดเลือดดำ (Intravenous drug) เข้าไปในกระแสเลือด และวัดการไหลของสารเหลว ปราศจากสารไพโรเจน ทำให้ ปราศจากเชื้อ โดยแก็ส เอธิลีนอ๊อกไซด์
- กระบอกฉีดยา (Syringes) ทำจากวัสดุพลาสติก PP (Polypropylene) โปร่งใสมองเห็นของเหลวภายในซอง หรือฟองอากาศที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน แต่ละกระบอกผ่านการสเตอร์ริไรซ์ และบรรจุในซองที่ป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคได้ปราศจากสารตกค้าง
- ก้านฉีด (Plunger) ทำจากพลาสติกสังเคราะห์ PP (Polypropylene) / PE (Polyethylene) มีความลื่นสะดวกไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับยาทุกชนิด ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ มีสีดำที่ไม่เป็นอันตรายสวมอยู่ตรงปลายก้านฉีด มีขอบกันรั่ว ลูกสูบกระชับพอดีกับตัวกระบอกฉีดยา ไม่หลุดออกจากกันได้ง่าย และแป้นดัน (Push-bottom ) มีขนาดที่เหมาะสมสามารถกดก้านฉีดได้ด้วยหัวนิ้วแม่มือ
- ลูกสูบ (Gasket) ผลิตจากยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ (Thermoplastic Elastomer Gasket) ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายต่างๆ ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เพราะไม่มีส่วนประกอบของน้ำยางธรรมชาติ ( Latex Free Product )เคลือบด้วยซิลิโคนตามมาตรฐานกำหนดเพื่อให้เกิดความลื่นขณะใช้งาน
วิธีการใช้
- - ฉีกซองบรรจุกระบอกฉีด
- - สวมเข็มฉีดยาเข้ากับกระบอกฉีดยา
- - ดึงปลอกเข็มฉีดยาออก
- - ดึงก้านฉีดออกเพื่อดูดของเหลว
- - นำไปใช้งานตามต้องการ
การเก็บรักษา
เก็บรักษาไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่มีความชื้นสูง และอากาศถ่ายเทได้อย่างเพียงพอ
ข้อควรระวัง
- ห้ามนำไปใช้ ถ้าซองบรรจุชำรุดหรือเปิดแล้ว
- ใช้ทันทีหลังเปิดซองบรรจุแล้ว ห้ามใช้กับพาราลดีไฮด์ ใช้ได้ครั้งเดียว
หัวเข็ม (Hypodermic needle)
เข็มฉีดยา เป็นอุปกรณ์สำหรับการแพทย์และงานทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ผลต่างๆ เช่น ใช้ดูดเลือดมาวิเคราะห์ผลทางการแพทย์หรือใช้ดูดสารเคมีหรือของเหลวมาวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน เป็นต้น โดยทั่วไปเข็มฉีดยาจะมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ตัวกระบอกฉีดยาจะใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา ผลิตจากวัสดุพลาสติกหรือแก้ว ด้านนอกจะมีสเกลสำหรับระบุปริมาตรของสารเป็นหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร (cc) มิลลิลิตร (ml) และไมโครลิตร (μl) ลูกสูบหรือก้านฉีดจะอยู่ภายในตัวกระบอกฉีดสามารถดึงและผลักไปตามแนวยาวภายในหลอดช่วยให้เข็มฉีดยาสามารถขับของเหลวหรือก๊าซให้ไหลผ่านได้สะดวก และสุดท้ายตัวเข็ม ทำมาจากสเตนเลสอย่างดี มีผิวเรียบลื่น ปลายแหลมคม ไม่เป็นสนิม ใช้ได้เพียงครั้งเดียวต้องทิ้ง ซึ่งจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ๋ให้ได้เลือกตามรูปแบบการใช้งาน
ใช้สำหรับฉีดยา ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. หัวเข็ม (hub) ซึ่งมีขนาดพอดีกับปลายกระบอกฉีดยา
2. ตัวเข็ม (shaft) เป็นส่วนต่อจากหัวเข็ม
3. ปลายเข็ม (bevel or slanted tip)
** การฉีดยาส่วนสำคัญของเข็มฉีดยาที่ต้องรักษาไว้ปราศจากเชื้อ คือ บริเวณรอยบากปลายเข็ม และตัวเข็ม**
การเลือกใช้ขนาด และความยาวเข็ม มีหลักในการพิจารณา ดังนี้
1. ความแหลมคม ขึ้นอยู่กับรอยบากปลายเข็ม หากรอยบากปลายเข็มมาก เข็มจะคม ซึ่งช่วยให้เจ็บน้อยลง
2. ความยาวของตัวเข็ม มีความยาวตั้งแต่ 5/16 นิ้ว ถึง 5 นิ้ว การใช้ความยาวเข็มเท่าใดนั้น ต้องพิจารณาจากความลึกของตำแหน่งที่จะใช้ฉีด ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เนื่องจากเนื้อเยื่อ มีขนาดแตกต่างกันและต้องพิจารณาจากวิถีทางการให้ยา หรือการฉีด
3. เบอร์เข็มจะบอกถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเข็มมีหลายขนาดตั้งแต่ 14 ถึง 32 เบอร์ใหญ่หรือมากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจะเล็ก
ตารางแสดงขนาดและความยาวของเข็มฉีดยาตามวัตถุประสงค์การใช้
- วัตถุประสงค์การใช้/เบอร์
- ดูดยา ละลายยา 18 – 20
- ฉีดยาเข้าผิวหนัง 27 – 30
- ฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง 25 – 32
- ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสำหรับผู้ใหญ่ 20 – 25
- ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสำหรับทารก และเด็กเล็ก 23 – 27
- ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 18 – 27