สุขภาพสตรีวัยทอง 
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
วัยทอง ไม่ใช่ "โรค" แต่เป็นภาวะหมดประจำเดือนและการตกไข่ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนต่างๆ เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน ลดลง
ฮอร์โมนอย่างเอสโตรเจนก็มิใช่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อย่างเดียว เซลล์ในช่องคลอด, กระเพาะปัสสาวะ, กระดูก, หลอดเลือด, หัวใจ, ตับ,และสมอง ต่างก็อาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจนในการทำให้เซลในอวัยวะนั้นทำงานได้ตามปกติ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยให้ผิวหนังดูเรียบเนียน ชุ่มชื้นไม่แห้ง,ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของเรา และยังจำเป็นต่อการสร้างกระดูกอีกด้วย เมื่อคุณผู้หญิงเข้าสู่วัยทองฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วแต่ก็ไม่ได้หมดไปซะทีเดียว เพราะยังมีต่อมไร้ท่ออื่นๆที่ไม่ใช่รังไข่ ยังผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมาเพื่อให้ร่างกายของคุณยังทำงานได้อยู่
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้น นอกจากทำหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเตรียมผนังมดลูกเพื่อการฝังตัวของไข่ ก็ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านที่ทำให้สมองเราสงบนิ่ง และเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอีกด้วย
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่มีความเกี่ยวข้องกับแรงขับเคลื่อนทางเพศ ผู้หญิงมักมีผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าผู้ชายถึง 80 เปอร์เซนต์ แต่ก็มีความสำคัญต่อความต้องการทางเพศของคุณผู้หญิงเหมือนกัน
อาการของสตรีวัยทอง
ก่อนเข้าวัยทองเมื่อระดับของการสร้างฮอร์โมนลดลงคุณผู้หญิงอาจจะเริ่มมีอาการต่อไปนี้
> วิตกกังวลง่าย
> ผิวแห้ง
> อ่อนเพลีย
> น้ำหนักขึ้นหรือรู้สึกว่าตัวบวม
> ปวดหรือเวียนศรีษะ, ใจสั่น
> ร้อนวูบวาบตามตัว
> นอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิด
> ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
> สมาธิไม่ค่อยมี
> อารมณ์แปรปรวน
> เหงื่อออกกลางคืน
> ไม่ค่อยอดทนต่ออะไรได้เหมือนก่อน
> ปัสสาวะเล็ด
> ช่องคลอดแห้ง
> มือเท้าเย็น, อาจมีอาการปวดข้อ
> ผมร่วง
โอ้โหอ่านแล้วคุณผู้หญิงคงรู้สึกไม่อยากให้ถึงเวลานั้นเลยใช่ไหมครับ อาการที่ว่ามานี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นอาการที่อาจเกิดชั่วคราวและเราก็สามารถจัดการมันได้ เมื่อเข้าวัยทองนั้น ปัญหาระยะยาวที่ เราห่วงคือ
เรื่องปัญหาด้านหลอดเลือดหัวใจ, ช่องคลอดที่เปลี่ยนแปลง และภาวะกระดูกพรุน ซึ่งหากมีปัญหาเหล่านี้ แพทย์อาจต้องให้ฮอร์โมนสังเคราะห์ทดแทนมาให้คุณรับประทานหรือแบบทาที่ผิวหนัง ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นอีกได้
การดูแลสุขภาพของสตรีวัยทอง
เราลองมาดูทางเลือกอื่นๆบ้างดีกว่าครับ
ควรรับประทานอาหารที่มี Phytoestrogen (อาหารที่มีเอสโตรเจนธรรมชาติ)เช่น ถั่วเหลือง, เม็ดฟล๊กซ์ (Flaxseed), ถั่วและเมล็ดธัญพืช, แอปเปิล, อัลฟาฟ่า ฯลฯ
สารไอโซฟลาโวน(Isoflavones) ในถั่วเหลืองช่วยลดอาการร้อนวูบวาบตามตัวและอาการอื่นๆของวัยทองได้ดีดูอย่างเช่นผู้หญิงญี่ปุ่นมักมีปัญหาอาการวัยทองน้อยเพราะเขาทานถั่วเหลือง, เต้าหู้,มิโสะเยอะไงครับ
พยายามลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์, นมและผลิตภัณฑ์จากนม เพราะมันเพิ่มอาการร้อนวูบวาบครับ
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชากาแฟ, ของหวาน, อาหารรสเผ็ดร้อน เนื่องจากทำให้อาการร้อนวูบวาบมากขึ้นแล้วยังกระตุ้นอาการปัสสาวะเล็ดและอารมณ์แปรปรวนง่ายนอกจากนี้อาหารพวกนี้ทำให้เลือดเป็นกรดมากขึ้นเราเลยสูญเสียแคลเซียมมากขึ้นในการสะเทินกรด กระดูกจึงมีโอกาสพรุนมากขึ้นครับ
ดื่มน้ำให้มาก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และลดความเครียดให้ได้มากที่สุด หันไปเจริญภาวนาปฏิบัติธรรมบ้างจะดีที่สุดเลยครับ |