ท้องผูกท้องผูก Constipation อาการท้องผูกเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในคนไทยมีการศึกษาพบว่า 24% ของประชาชนชาวไทยคิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก แต่เมื่อสอบถามในรายละเอียดแล้วพบว่าคนไทยประมาณ 8% มีปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบากและ 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นอาการท้องผูกจึงถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง แม้ว่าอาการท้องผูกส่วนใหญ่จะไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต แต่ก็มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากโดยเฉพาะในรายที่เป็นรุนแรง
![]() โดยทั่วไปอาการท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในผู้ป่วยบางคนอาจมีความถี่ในการถ่ายอุจจาระปกติ แต่ในการถ่ายแต่ละครั้งจะถ่ายด้วยความยากลำบากก็ถือว่าผู้ป่วยมีปัญหาท้องผูก อาการท้องผูกมักสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลานาน เบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกรุนแรงเรื้อรังประมาณหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งมีสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้ แต่ในปัจจุบันผู้ป่วยท้องผูกส่วนใหญ่มักจะได้รับการละเลยเนื่องจากแพทย์มักเห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ฉุกเฉิน และรุนแรงหรือเห็นว่าเป็นโรคที่ไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาด แพทย์ส่วนใหญ่ จึงมักรักษาผู้ป่วยตามอาการด้วยยาระบายทำให้ผู้ป่วยท้องผูกจำนวนหนึ่งที่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
สาเหตุของอาการท้องผูก แบ่งได้เป็น 4 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ
1. สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย โรคทางกายที่สามารถเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรัง ได้แก่
• เบาหวาน
• ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
• ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
• โรคทางระบบประสาทต่าง ๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือโรคที่สมองหรือไขสันหลัง, โรค parkinson’s หรือโรค multiple sclerosis
2. สาเหตุจากยาที่รับประทานประจำ
มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรได้รับการซักประวัติเกี่ยวกับยาที่ได้รับว่ามียาที่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือไม่ ยาที่สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้มีดังต่อไปนี้
• กลุ่มยาทางจิตเวช ที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะยากลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitryptyline หรือ nortryptyline
• ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic ซึ่งจะทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น buscopan ยารักษาโรค parkinson’s เช่น Levodopa และยาแก้แพ้บางชนิด เช่น chlorpheniramine
• ยากันชัก เช่น dilantin
• ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
• ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ morphine หรืออนุพันธ์ของ morphine เช่น paracetamol ชนิดที่มีส่วนผสมของ codeine
• เหล็ก ที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
• ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของ calcium หรือ aluminium
• ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น diclofenac, piroxicam และ indometracin
• ยาอื่น ๆ เช่น cholestyramine
3. การอุดกั้นของทางเดินอาหาร การอุดกั้นของทางเดินอาหารสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวได้แก่
• มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
• ลำไส้ตีบตัน (stricture)
• ลำไส้บิดพันกัน (volvulus)
• ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น rectocele, rectal prolapsed, หรือตีบตัน
• การลดน้อยลงของปมประสาทบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เป็นมาแต่กำเนิด (Hirschprung’s disease)
4. สาเหตุที่เกิดจากเคลื่อนไหวของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ (functional cause)
• การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction)
• การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติ หรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกันทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ (colonic inertia)
• ภาวะลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
• สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อย รับประทานอาหารที่มีกากน้อย และนิสัยในการขับถ่ายที่ไม่ดี
ในบรรดาสาเหตุของอาการท้องผูกที่กล่าวมาข้างต้นพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนน้อยเท่านั้น ที่อาการท้องผูกมีสาเหตุมาจากโรคทางกาย ยา หรือโรคของลำไส้ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังจะหาสาเหตุไม่พบ ซึ่งถ้านำผู้ป่วยกลุ่มนี้มาตรวจดูการเคลื่อนไหวของลำไส้ และการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักจะพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีสาเหตุมาจากโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ประมาณหนึ่งในสามจะมีสาเหตุจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ (anorectal dysfunction) และที่เหลือจะมีสาเหตุมาจากลำไส้เคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ (colonic inertia) ซึ่งสาเหตุของความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่เป็นที่ทราบกันชัดเจน แต่พบว่าการมีการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติเป็นภาวะที่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ดังนั้นการรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งการรู้จักแนวทางการดูแลรักษาจึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมาก
ยาระบาย ไม่ใช่คำตอบที่ดีของการแก้ ท้องผูก
ยาระบาย ที่นิยมซื้อใช้กันส่วนใหญ่ในบ้านเรา เป็นยากลุ่มกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ (stimulant laxatives) ขนาดการใช้ยาระบายกลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการท้องผูก และการตอบสนองของผู้ป่วย และไม่ควรใช้บรรเทาอาการท้องผูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะเมื่อใช้ยาในกลุ่มนี้ต่อเนื่องไปนานๆ จะทำให้เกิดภาวะลำไส้เคยชินต่อยาระบาย ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายได้เอง และจะดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นส่งผล ลำไส้ทำงานไม่ปกติยากต่อการแก้ไข นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะปวดท้อง ระดับเกลือแร่เสียสมดุล ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียนศีรษะได้อีกด้วย
สำหรับท่านที่ไม่ต้องการใช้ยา เรามีทางเลือกที่ไม่เป็นอันตรายให้ทุกท่านได้พิจารณาเลือกใช้ดังนี้ค่ะ
1.Probiotic
โปรไบโอติค มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้วในต่างประเทศ โปรไบโอติคที่มีการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วไปมี 2 กลุ่มได้แก่ เชื้อกลุ่มแลคโตบาซิลลัส( Lactobacillus) และกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium) ซึ่งปัจจุบันเชื้อในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียมีบทบาทมาก เพราะเป็นเชื้อธรรมชาติที่พบอยู่ในลำไส้ของคนเรา และเป็นโปรไบโอติคสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมที่สุดในญี่ปุ่น มีการศึกษาในคนสูงอายุชาวญี่ปุ่นพบว่าผู้ที่รับประทานโยเกิร์ต ที่มี B. bifidum พบรายงานว่ามีการเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น นอกจากนี้ Bifidobacterium ลดอาการท้องอืด ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยท้องผูก มีผลการวิจัยพบว่า เชื้อบิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม สามารถช่วยป้องกันและลดภาวะท้องผูกโดยช่วยปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของลําไส้ ช่วยเพิ่มความถี่ของการเคลื่อนไหวของลําไส้และเพิ่มความนุ่มของอุจจาระช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องขึ้น ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาท้องผูกโดยการปรับสมดุลตามธรรมชาติ และทำให้ระบบขับถ่ายมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
![]() 2.Chitosan
ไคโตซานเป็นไฟเบอร์ที่พบในเปลือกหอย และสัตว์ทะเล มีคุณสมบัติในการจับกับไขมันในกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและมีผิวเรียบ ลดอาการท้องผูก ช่วยให้ลำไส้สะอาดขึ้น
![]() 3.Glucomannan
เป็นไฟเบอร์ละลายน้ำได้จาก konjac root ช่วยสร้างก้อนอุจจาระ ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ถ่ายอุจจาระภายใน 12-24 ชั่วโมง แก้ปัญหาการท้องผูกเรื้อรัง ด้วยคุณลักษณะของการพองตัวเป็นวุ้นนุ่มๆ ที่คงตัวและเป็นสารหล่อลื่น อีกที่ยังช่วยเพิ่มกากอาหาร และทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติดีขึ้น
![]() 4.Vitamin C
วิตามิน ซี ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบ peristalsis ด้วยการรับประทานวิตามิน ซี 4-8 กรัม และแมกนีเซียมออกไซด์แบบผง 1500 มก. ผสมกับน้ำผลไม้สามารถกระตุ้นการถ่ายอุจจาระภายใน 45 นาที
![]() 5.Fiber
การรับประทานอาหารสม่ำเสมอและดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ (20-35 กรัมต่อวัน) จะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม อย่างไรก็ตามการรับประทานเส้นใยอาหารปริมาณมากอาจทำให้มีอาการท้องอืดหรือมีแก๊ซเยอะได้ในบางคน พยายามเพิ่มเส้นใยอาหารประเภทที่ละลายได้ง่าย (เส้นใยจากผัก ผลไม้ และข้าวโอ๊ต) ซึ้งดีกว่าประเภทที่ไม่ละลาย (เส้นใยจากเมล็ดธัญพืช) เริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งก้อนอุจจาระนิ่มลงและขับถ่ายบ่อยขึ้น มีการศึกษาพบว่าการรับประทานใยอาหารที่พอเพียงจะช่วยเพิ่มน้ำหนักก้อนอุจจาระ ทำให้เกิดการขับถ่าย
![]() การปฏิบัติตัว
1.รับประทานอาหารที่มีกากหรือใยอาหารให้มาก กากอาหารจะพบมากในผัก ผลไม้ และธัญพืช กากและใยอาหารจะทำให้อุจาระนุ่ม ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกาก เช่น ครีม เนย เนื้อ มันทอด
2.ดื่มน้ำ น้ำผลไม้ และน้ำผักให้มาก น้ำจะทำให้อุจาระนุ่มและออกง่ายไม่ควรดื่มกาแฟ และแอลกอฮอล์เนื่องจากจะทำให้อุจาระแห้ง
3.ออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น โดยอาจจะใช้เดินวันละ 20-30นาที
4.เวลาเข้าห้องน้ำอย่ารีบเร่งจนเกินไป ให้เวลากับการขับถ่ายบ้าง
5.ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่งและใช้เท่าที่จำเป็น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติตัวดีก็หายเองได้ โปรดปรึกษาแพทย์ในการเลือกใช้ยาระบาย
6.หากท่านใช้ยาประจำโปรดปรึกษาแพทย์เพราะยาบางชนิดอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น แคลเซียม ยาลดกรด ยาแก้ปวดบางชนิด ยาขับปัสสาวะ
อ้างอิง
1. LifeExtension. DISEASE PREVENTION AND TREATMENT. 5th edition.
2. Rakel, D. (2017). Integrative Medicine. [E-Book]. 4th Edition
| ||
Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map
|