กระดูกและข้อเสื่อม | 365wecare

วิตามิน อาหารเสริม เวชสำอาง บำรุงผิว อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ

365wecare
เข้าสู่ระบบ    | ยังไม่มีสินค้า  
หน้าแรก  รีวิวสินค้า  ปัญหาสุขภาพ  วิธีสั่งซื้อ  ข่าวสาร  แนะนำสินค้า  สาระน่ารู้  ติดต่อเรา 

 

กระดูกและข้อเสื่อม

 กระดูกเสื่อมและข้อเสื่อมโรคที่เกิดได้กับทุกวัย

 
   
 
     หลายคนคิดว่า โรคกระดูกและข้อเสื่อมมักจะเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว โรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ไม่เว้นแม้วัยรุ่นหนุ่มสาว
กระดูกเสื่อมคือกระดูกที่มีการบางจากอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิงวัยหมดรปะจำเดือนที่จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้การทำลายกระดูกมีมากกว่าการซ่อมแซมกระดูก เนื้อกระดูกจึงบางลงเรื่อยๆ สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้กระดูกบาง ได้แก่ การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคบางโรค การตัดมดลูก เป็นต้น อาการแสดงภายนอกจะไม่มีอะไรผิดปกติ นอกจากเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มแล้วกระดูกหัก นพ.ประสงค์ โอนพรัตน์พิบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา อธิบายว่า  โรคกระดูกเสื่อมเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 
1. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนใหญ่จะพบบ่อยคือ โรคกระดูกเสื่อมที่ข้อนิ้ว และข้อปลายนิ้ว เมื่ออายุมากขึ้นจะเป็นโรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม กระดูกจะมีลักษณะเป็นปม ซึ่งพบมากในผู้หญิงเอเชีย ส่วนผู้หญิงฝั่งยุโรปจะป่วยเป็นโรคกระดูกข้อสะโพกเสื่อม
2. ส่วนสาเหตุที่สองเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุ อย่างเช่น โรคกระดูกข้อสันหลังเสื่อม การก้มเงยมาก ยกหรือถือของหนักต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน

ส่วนข้อเสื่อมนั้นเป็นความเสื่อมของตัวรับน้ำหนักข้อ ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน ภาวะนี้ไม่ได้เป็นโรค เป็นความเสื่อมของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อาการเริ่มแรกคือมีการฝืดหรือตึงที่ข้อ นั่งนานแล้วลุกลำบาก ต่อมาน้ำเลี้ยงข้อจะลดลง ข้อจึงกระทบมีเสียงละเอียดคล้ายเสียงทราย หรือเสียงกรอบแกรบ ต่อมาความฝืดมากขึ้นมีน้ำมาคั่งบริเวณข้อมากขึ้น ข้อจึงบวม แคลเซียมไม่มีบทบาทในภาวะนี้เท่าไหร่นัก
 
  
   
สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่า เพราะผู้หญิงมีกระดูกที่สามารถผิดรูปได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากขาดฮอร์โมนอีสโทรเจน เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนก็จะทำให้แคลเซียมละลายออกไปจากกระดูก และถูกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้กระดูกบางลง ก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย และเมื่ออายุมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ข้อเข่าก็จะโก่ง ส่งผลให้ข้อกระดูกสันหลังค่อมลง
 หนุ่มสาวออฟฟิศควรระวัง!
 
          สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกเสื่อมจากอาการบาดเจ็บ ได้เช่นกัน ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยอย่างเช่น กระดูกก้านคอเสื่อม  มักพบในอาชีพที่ต้องก้มหน้านานๆ อย่าง ทันตแพทย์จะมีโอกาสเป็นมากกว่าปกติ ส่วนพนักงานออฟฟิศจะเกิดโรคจากการนั่งผิดท่าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือการปรับเก้าอี้สูงหรือต่ำไม่ตรงกับระดับหน้าจอ ทำให้ต้องก้มหรือแหงนคอตลอดเวลา ก็จะทำให้กระดูกก้านคอเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเสื่อมได้
 
 
          ส่วนสัญญาณบอกเหตุคือ มีอาการเจ็บปวดตามแนวกระดูกหรือคอเมื่อขยับร่างกาย และขยับได้น้อยลง มีเสียงดังตามข้อต่างๆ เพื่อพลิกหรือขยับตัว
 
  
 
 
เปลี่ยนพฤติกรรมช่วยป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
          แพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ แนะนำว่า หากพบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกเสื่อม สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เริ่มจากการเดิน นั่งที่ถูกต้อง คือนั่งตัวตรงและนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง ไม่ยกของหนักมากเกินไป ไม่ก้มเงยบ่อย และควรยืดเส้นยืดสายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อบ้าง
   
สำหรับสาวๆ ที่สะพายกระเป๋าหนัก หรือหิ้วของหนักข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท บริเวณสะบัก ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการอักเสบ หรืออาจมีการชาของเส้นประสาท บริเวณแผ่นหลังได้ จึงไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน หากมีอาการปวดต้นคอ หรือชาปลายนิ้วมือ ควรพบแพทย์
 
   

          การออกกำลังกายก็เป็นแนวทางป้องกันให้เกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกคด หรือผิดรูปได้น้อยลง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกเสื่อมสามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรหักโหมมากเกินไป อาจวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ 4-5 วันต่อสัปดาห์
 
   
          ‘โรคกระดูกเสื่อม’ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพของตนเองกันด้วยนะคะ

ส่วนโรคข้อเสื่อมเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดข้อที่พบได้บ่อย
       โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มโรคข้ออักเสบ ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อหรือข้อติด และมีอาการบวมรอบๆ ข้อบางครั้ง โดยคำว่า "ข้อ" คือส่วนที่ปลายกระดูกสองชิ้นมาต่อกัน ซึ่งโรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้ในหลายๆ ข้อ แต่ข้อที่พบได้บ่อย ได้แก่
• ข้อเข่า
• ข้อสะโพก
• ข้อมือและข้อนิ้ว
• ข้อกระดูกสันหลัง
 
ข้อเสื่อมเป็นโรคที่เรื้อรังและส่วนมากจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เป้าหมายของการรักษา คือ ลดอาการปวด ลดอาการอื่นๆ และให้สามารถใช้งานข้อต่างๆ ได้นานขึ้น
 
สาเหตุของโรคข้อเสื่อมคืออะไร
        โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อชนิดหนึ่งที่จะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนมากจะเกิดที่กระดูกอ่อน กระดูกอ่อนเป็นโครงสร้างลื่นๆ ที่หุ้มส่วนปลายของกระดูกแต่ละชิ้นทำให้กระดูกสามารถเคลื่อนขยับได้บนกระดูกอีกชิ้นที่ติดกันทำให้ข้อนั้นงอหรือเหยียดได้ ซึ่งกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มส่วนปลายของกระดูกไว้นั้นจะค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ ในคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม และเมื่อไม่มีกระดูกอ่อนเหลืออยู่ กระดูกจะเสียดสีกันโดยตรงทำให้เกิดอาการปวดข้อและข้อบวม
 
ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม  มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมและแต่ละปัจจัยก็ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้คนละตำแหน่งกัน เช่น
• อายุมาก
• ผู้หญิง
• น้ำหนักเกินหรืออ้วน
• ญาติใกล้ชิดเป็นโรคข้อเสื่อมหรือคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อม
• เคยมีการบาดเจ็บของข้อ
• อาชีพต้องอาศัยการทำงานของข้อซ้ำ(เช่น ต้องคุกเข่าหรือยกของ)
• เล่นกีฬา
 
คำแนะนำจากดร.แอนดรู ไวล์ ผู้โด่งดังในเรื่องธรรมชาติบำบัดรวมถึงข้อมูลจากเวบไซต์ดีๆมากมายที่มีการยืนยันถึง และเพื่อปัองกันและบรรเทาอาการหากท่านใดเริ่มมีอาการ เรามีตัวช่วยเป็นทางเลือกให้ทุกท่านดังนี้ค่ะ
1. รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ
2. รับประทานวิตามิน ดี อย่างน้อย 2000 ยูนิตต่อวัน
3. รับประทาน
4. วิตามิน เค
5. ลดปริมาณโซเดียม
6. รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอเพื่อให้ได้รับปริมาณ โพแทสเซียม  แมกนีเซียม วิตามินซี และเบตาแคโรทีน ให้เพียงพอ นอกจากนี้ผักผลไม้จะช่วยลดภาวะกรดที่เกิดจากอาหารและดีต่อภาวะกระดูกพรุน
7. จำกัดปริมาณคาเฟอีน
8. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แค่พอประมาณ
9. ออกกำลังอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
 
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหรืองดบริโภคซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
1.หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากจนเกินไป เนื่องจากการรับประทานโปรตีนมากและรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมเพิ่มมากขึ้นได้
 
2.หลีกเลี่ยงหรืองดรับประทานอาหารรสเค็มจัด เนื่องจากอาหารรสเค็มมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้นและขับแคลเซียมตามออกมาด้วย จึงทำให้การสูญเสียแคลเซียมจากร่างกายทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
 
 
3.หลีกเลี่ยงหรืองดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น น้ำชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
 
 
4.หลีกเลี่ยงหรืองดดื่มน้ำอัดลม เนื่องจากมีส่วนผสมของฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสจะรวมตัวกับแคลเซียมในร่างกาย ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดเสียสมดุล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ได้ตามปกติ จึงทำให้แคลเซียมในร่างกายลดลง
 
 
5.หลีกเลี่ยงหรืองดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย และทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากนั้นจะทำให้แคลเซียมลดต่ำลง
 
 
6 .หลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตีนในบุหรี่ขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้ ทำให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ลดลง
 
 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนมีอะไรบ้าง
1. หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื้อกระดูกจะลดลงอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน
2. ผู้สูงอายุ เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการขาดแร่ธาตุเป็นเวลานาน
3. ชาวเอเชีย และคนผิวขาวมีโอกาสเกิดมากกว่าคนผิวดำ กรรมพันธุ์ก็มีส่วน
4. กินอาหารไม่ถูกต้อง เช่น กินโปรตีน และเกลือมาก
5. สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มกาแฟมาก (เกิน 4 แก้ว/วัน) น้ำอัดลม ซึ่งมักมีกรดฟอสฟอริก pH 2.4 ล้วนทำให้ต้องดึงแร่ธาตุออกมาสะเทินฤทธิ์กรด
6. คนผอมมีความเสี่ยงมากกว่าคนอ้วน เพราะเชื่อว่าไขมันสามารถเปลี่ยนเป็นเอสโตรเจนได้
7. ขาดการออกกำลังกายที่มีการแบกรับน้ำหนัก, ขาดวิตามินดี, ซี
8. เป็นโรคบางอย่าง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต เบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง
9. ได้ยาที่มีการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ
10. ยาเคลือบกระเพาะ ซึ่งมักเป็นเกลืออลูมิเนียม เป็นสิ่งเร่งให้ร่างกายขับแคลเซียม แมกนีเซียม อีกทั้งลดการดูดซึม แร่ธาตุทั้งสองจากระบบทางเดินอาหาร
 
สำหรับอาหารเสริมที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการกระดูกและข้อเสื่อมมีดังนี้ค่ะ
 
1. Calcium
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญ  ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เพิ่มความหนาแน่นให้กระดูก ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง ส่วนอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดมีบทบาทควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล  การทำงานของระบบประสาท และช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด
หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำแคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงแตกหักได้ง่ายแม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการของ  “โรคกระดูกพรุน”  และถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอตั้งแต่เด็ก  โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็มีเพิ่มขึ้น
 
2. Magnesium
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญสุดๆ ของร่างกาย โดยมีอยู่ในเซลล์มากเป็นอันดับสองรองจากโปแตสเซียม (แต่โปแตสเซียมนั้นร่างกายมักได้รับเพียงพอจากอาหารอยู่แล้ว)
3 ใน 4 ของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดของร่างกาย หรือกว่า 300 ปฏิกิริยาเคมี ต้องอาศัยแมกนีเซียมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  รวมทั้งการคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ ต้องอาศัยและใช้แมกนีเซียม ซึ่งหากขาดแมกนีเซียม เซลล์ที่หดตัวได้อาจค้างคาในท่ากล้ามเนื้อหด เพราะคลายตัวไม่ได้ ซึ่งหากเป็นกับกล้ามเนื้อหัวใจ ผลที่พบคือ หัวใจหยุดเต้นในท่าหดตัว (Cardiac contraction)…ตาย !
เมื่อใดที่ร่างกาย หรือเซลล์ที่ต้องใช้แมกนีเซียมทำงาน แต่มีไม่เพียงพอ มันจะดึงแมกนีเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อใช้กับงานจำเป็นเร่งด่วนไปก่อน ผลก็คือ เหลือแต่แคลเซียมกับฟอสเฟต จับตัวกันที่กระดูก ทำให้ไม่แข็งแกร่ง (แมกนีเซียม เป็นตัวเสริมความแข็งแกร่ง ดังเช่น ล้อแมกซ์รถยนต์ ซึ่งเบาแต่แข็งมาก) ดังนั้น กรณีที่กระดูกขาดแมกนีเซียม ผลตามมาคือ กระดูกพรุน หรือเปราะ ถูกกระทบนิดหน่อยก็หักได้ง่าย ดังที่เราพบผู้สูงอายุกระดูกหักโดยเฉพาะที่คอ กระดูกต้นขา
ปริมาณปกติของแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ 6 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ในสัดส่วน แมกนีเซียมต่อแคลเซียม = 1:2 หรือหากได้รับ = 1:1 ก็ยิ่งดี โดยพบว่าการได้แมกนีเซียมเกินต้องการ ไม่เกิดพิษภัยร้ายแรง (ยกเว้นผู้ที่ไตเสียหรือตั้งใจกินฆ่าตัวตาย) แต่หากได้แคลเซียมมากโดยขาดแมกนีเซียมร่วม จะเกิดผลเสียมากมาย อาทิ การเกิดหินปูนเกาะที่อวัยวะต่างๆ ที่เรียก Calcification เช่น นิ่วในไต, ลิ้นหัวใจที่มีแคลเซียมเกาะ ทำให้ปิดไม่สนิท หัวใจจะบวมโตเพราะทำงานหนัก เกาะที่หลอดเลือดส่งผลให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ เกิดความดันโลหิตสูง

3. Zinc
เช่นเดียวกับแมกนีเซียม ซิงค์ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูกเช่นกัน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักวิจัยต่างค้นพบว่า สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีพของพืชและสัตว์ แม้นักโภชนาการหลายท่านจะยังคงไม่แน่ใจกับการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนธาตุสังกะสีที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เพราะเชื่อว่าสังกะสีเป็นธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมทั่วไป และยังไม่มีสัญญาณทางด้านการแพทย์ใดๆ อย่างชัดเจนเกี่ยวกับภาวะขาดธาตุดังกล่าว แต่ปัจจุบันเป็นที่ตระหนักแล้วว่าภาวะขาดธาตุสังกะสีเป็นปัญหาสำคัญและยังเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์
 
          ได้มีรายงานเกี่ยวกับภาวะขาดธาตุสังกะสีในมนุษย์ที่เริ่มปรากฏอย่างชัดเจนครั้งแรกในปีค.ศ.1960 เมื่อ Dr.Ananda Prasad ได้ศึกษาเรื่องปัญหาความแคระแกร็นและการเจริญพันธุ์ที่ล่าช้าของกลุ่มวัยรุ่นตะวันออกกลาง โดยเมื่อกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ได้รับธาตุสังกะสีเป็นอาหารเสริม ทั้งความสูง น้ำหนัก พัฒนาการของกระดูกและการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นเหล่านี้ต่างเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่นั้นมานักวิจัยหลายคนได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก และได้พบว่าการเสริมด้วยธาตุสังกะสีจะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตให้แก่เด็กที่มีปัญหาเติบโตช้าหรือแคระแกร็น และช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในเด็ก เช่น อาการท้องเสีย หรือปอดบวม
 
          และล่าสุดได้มีการศึกษาพบว่าสังกะสียังมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตต่อกระดูกของทารกในครรภ์อีกด้วย จากผลการศึกษาได้มีข้อแนะนำให้สตรีที่กำลังตั้งครรภ์จำเป็นจะต้องได้รับธาตุสังกะสีในปริมาณที่เพียงพอเพื่อส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกทารก โดยนักวิจัยได้ศึกษาสตรีที่กำลังตั้งครรภ์กว่า 240 คนในประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบภาวะขาดธาตุสังกะสี สตรีมีครรภ์จำนวนหนึ่งได้ถูกสุ่มเลือกมาเพื่อทดลองให้รับวิตามินเป็นอาหารเสริม โดยกลุ่มหนึ่งรับวิตามินที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีและอีกกลุ่มหนึ่งไม่มีธาตุสังกะสี โดยพบว่ากระดูกสะโพกหรือต้นขาของทารกในครรภ์มารดาที่ได้รับการเสริมด้วยธาตุสังกะสีจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าทารกอีกกลุ่มหนึ่ง การเสริมด้วยธาตุสังกะสีมีผลต่อพัฒนาการกระดูกสะโพกของทารกตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่าสตรีในประเทศที่ประสบภาวะขาดธาตุสังกะสีควรรับประทานธาตุสังกะสีเป็นอาหารเสริม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Boron
โบรอน เป็นสารอาหารที่มีความน่าสนใจ พบว่าเมื่อร่างกายได้รับโบรอนที่เพียงพอ  การขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะจะลดลงราว 40 % 
การออกกำลังกายเป็นประจำและเสริมแคลเซียม ซึ่งหากมีโบรอนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยจะช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นแข็งแรงมากยิ่งขึ้น  โบรอน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย  โดยนักวิทยาศาสตร์และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยอมรับว่า โบรอน เป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพโดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
• ช่วยคงสภาพสุขภาพของกระดูก โดยเฉพาะในภาวะที่ร่างกายขาดวิตามิน ดี แมกนีเซียม และโปแตสเซียม
• ช่วยลดการขับแคลเซียม และแมกนีเซียมออกทางปัสสาวะ
• เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม
• เพิ่มการผลิตฮอร์โมนเพศทั้งเอสโตรเจนและเทสโตสเตอโรน
• เพิ่มการผลิตและคงสภาพ วิตามิน ดี3
• เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่กระดูก จึงมีผลเพิ่มความสามารถในการรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะกระดูกหักทรุดตัวลง (Compression Fracture) 
• ช่วยกระตุ้นการผลิต Corticosteroid มีผลต้านกลไกการอักเสบของเนื้อเยื่อ ข้อ และกระดูก ซึ่งมีผลลดโอกาสเกิดหินปูนที่เกาะตามกระดูก ( Osteophyte) 
ปริมาณที่แนะนำ โดยปกติทั่วไปร่างกายคนเราต้องการ โบรอนในขนาด 1-3 มก. ต่อวัน 

5. Phosphate
       ฟอสเฟต หรือ ฟอสฟอรัส ”ฟอสฟอรัส” เป็นเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราจัดว่าเป็นอันดับสองของแคลเซียมเลยก็ว่าได้ค่ะ และก็จะอยู่รวมกับแคลเซียม ที่เป็นในส่วนของกระดูและฟัน ในเนื้อเยื่อต่างๆ ก็มีฟอสฟอรัสอยู่ด้วยเช่นกัน ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ สัตว์ และระบบนิเวศ เป็นแร่ธาตุที่พบมากในธรรมชาติในรูปของเกลือฟอสเฟตต่างๆค่ะ ส่วนฟอสเฟตก็คือ สารประกอบของฟอสฟอรัสนั่นเองค่ะ เช่น Monohydro phosphate แต่เกลือแร่ที่ร่างกายจะนำไปใช้งานก็คือ ส่วนที่เป็นเกลือแร่ฟอสฟอรัส      
 
ความต้องการฟอสฟอรัส
      ฟอสฟอรัสที่อยู่ในร่างกายจะพบในรูปของฟอสเฟต โดยประมาณร้อยละ 85-90 ของฟอสฟอรัสที่พบในร่างกายทั้งหมด จะเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกาย เช่น ในกระดูกจะพบฟอสฟอรัสรวมตัวกับแคลเซียม และอีกประมาณร้อยละ 11 จะเป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ เลือด และของเหลวในร่างกาย ในรูปของฟอสโฟลิปิด กรดนิวคลีอิก และสารอื่นๆที่ละลายอยู่ในเซลล์ สำหรับในเลือดจะพบฟอสฟอรัสประมาณ 35-40 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงปริมาณตามสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน แต่จะมีระดับคงที่ประมาณ 4-9 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร การขับฟอสฟอรัสออกจากร่างกาย ประมาณ 2ใน 3 จะขับผ่านทางปัสสาวะ และอีก 1 ใน 3 จะขับผ่านทางอุจจาระ โดยมีฮอร์โมนพาราไทรอยด์เป็นตัวควบคุมระดับปริมาณฟอสฟอรัสในร่างกาย และการขับออกนอกร่างกาย  
ผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ ร่างกายต้องการฟอสฟอรัสวันละ 700 มิลลิกรัม โดยร่างกายได้รับฟอสฟอรัสจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีมากใน เนื้อสัตว์ นม

6. Strontium
การรักษาภาวะกระดูกพรุนด้วย strontium Strontium เป็น trace element ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูกและยังเพิ่มการสร้างกระดูก กลไกการออกฤทธิ์ในระดับเซลยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับการสร้างมวลกระดูก 
       จากการศึกษาทั้งแบบ in vitro พบว่า strontium จะไปยับยั้งการสลายกระดูก นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่ม การสร้างกระดูก รวมทั้งเพิ่มการสังเคราะห์ bone matrix และ collagen ทำให้มีการสร้างมวลกระดูกเพิ่มขึ้น สำหรับการศึกษาแบบ in vivo ก็พบว่า strontium ช่วยเพิ่มการสังเคราะห์และลดการสลายกระดูก จึงเพิ่มมวลกระดูกได้โดยทำให้โครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูกมากขึ้น แต่ไม่มีผลต่อระดับของแร่ธาตุภายในกระดูก

      การศึกษาทางคลินิกขนาดใหญ่ของ พบว่า strontium ช่วยลดการหักของกระดูกสันหลัง และทำให้ระดับ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น แต่ทำให้ระดับของ telopeptide crosslink ซึ่งเป็น marker ของการสลายกระดูกลดลง ส่วนการ ศึกษาในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะกระดูกพรุน พบว่าเมื่อให้ strontium เป็นระยะเวลานานๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ ในทั้ง 2 การศึกษานั้น ผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ คลื่นไส้ และท้องเสีย ซึ่งจะหายไปเองหลังการใช้ strontium ไปแล้ว 3 เดือน

      Strontium จึงน่าจะเป็นสารตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในหญิงวัยหมดประจำเดือนตัวหนึ่ง 


7. Vitamin D
       ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนในยุคปัจจุบันที่มักจะนั่งทำงานในที่ร่มและไม่ค่อยรับแสงแดด ส่งผลให้ร่างกายมักจะขาดวิตามินชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “วิตามินดี” วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อกระดูก เพราะเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
        วิตามินดีช่วยเซลล์ออสทีโอบลาสต์ (Osteoblasts คือ เซลล์สร้างกระดูก) ในการดูดซึมแคลเซียม เปรียบได้กับการให้เครื่องทุ่นแรงในการสร้างกระดูก ยิ่งไปกว่านั้นเรายังทราบอีกด้วยว่า วิตามินดีช่วยยับยั้งการทำงานของ C-fos ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตและการกระตุ้นเซลล์สลายกระดูกที่มีชื่อว่าออสทีโอคลาสต์ (Osteoclastes คือ เซลล์สลายกระดูก)
การที่ร่างกายขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุของปัญหากระดูกอยู่ 2 อย่าง คือ
1. ถ้าระดับวิตามินดีลดลง ความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารหรืออาหารเสริมก็จะลดลงตามไปด้วย
2. การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ นำไปสู่การดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกเข้าสู่กระแสเลือด (ภาวะสลายกระดูกทำให้สูญเสียมวลกระดูก)

8. Vitamin K
        วิตามินเคเป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญไม่แพ้วิตามินอื่นใด ในเมืองไทยไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมันคือ A,D,E,K คนส่วนใหญ่จึงกลัวว่าจะตกค้าง เป็นส่วนเกินในร่างกาย แต่เดี๋ยวก่อน     วิตามิน K จะแตกต่างจากวิตามินที่ละลายในไขมันอื่นๆเพราะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกาย  ส่วนวิตามิน เค อยู่ที่หนใด มาดูกันดีกว่า
 
วิตามินเค มี 3 รูปแบบคือ
1.วิตามิน K1( phylloquinine หรือ phytonadione ) พบสูงสุดในผักใบเขียว 
2.วิตามิน K2 ( menaquinone ) มีในชีส อาหารหมักดองเช่น ถั่วเหลืองหมักญี่ปุ่น ( natto ) และสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ พบในเนื้อเยื่อตับ
3.วิตามิน K3 ( menadione ) ได้จากการสังเคราะห์โมเลกุลและถูกเปลี่ยนเป็น menaquinone ที่ตับ
       ในที่นี้เราจะกล่าวถึงวิตามินK2 ซึ่งมีห่วงโซ่สายยาวทรงคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของกระดูกคือ Mk-4, Mk-7
        Mk-4 ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ 1998 ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ภายใต้ชื่อการค้า Glakay หากบริโภควิตามิน Mk-4 เพียง 45 mgต่อวัน สามารถลดการเกิดกระดูกหักได้มากถึง 87%
        นอกจากนี้  มีการศึกษาว่าการรับประทานวิตามินเค ควบคู่กับแคลเซียมและวิตามิน ดี ช่วยทำให้ผู้ป่วยกระดูกพรุนอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อ 19 ก.พ 2011 กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้อนุมัติอาหารเสริมที่มี Mk-7และวิตามินD3 เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก 
ประโยชน์ของวิตามิน เค ต่อกระดูก ได้แก่  ลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักและโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน  มีบทบาทในการผลักแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและดูดซึมแคลเซียม  เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก  ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูก osteoblastic และยับยั้งการสลายของกระดูก osteoclassic   ป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกนำไปฝากในที่ไม่ควรจะเป็น เช่น หลอดเลือดและอวัยวะที่ก่อให้เกิดอันตรายมีมากเกินจนกลายเป็นกระดูกงอกหรือจับกับหลอดเลือดแดงจนกลายเป็นหินปูนได้
        มีผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกพรุนทั้งๆที่มีการบริโภคแคลเซียมเป็นประจำ จะมีแคลเซียมส่วนเกินในหลอดเลือดแดงและกระดูก เหตุผลคือ การขาดวิตามิน K2 ที่จะช่วยป้องกันการเกิดหินปูนเกาะหลอดเลือดแดงและการสะสมของแคลเซียมมากเกินไปในหลอดเลือดแดง นานวันเข้าจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
         ร่างกายต้องการวิตามิน K ทำงานร่วมกับแคลเซียม,วิตามิน D3 ในการสร้างกระดูก     ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกำลังลดระดับลงและใกล้หมดไปจากร่างกาย ส่งผลให้มวลกระดูกจะเริ่มบางลงเรื่อยๆ ควรเริ่มสะสมแคลเซียมที่มีอัตราส่วนต่อแมกนีเซียม 2:1พร้อม วิตามิน D3 และ วิตามิน K2 ( Mk-7 ) เพื่อวันข้างหน้าเราจะมีกระดูกที่แข็งแรงแม้ในวันที่สูญสิ้นประจำเดือนค่ะ

อาหารบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อม
          แม้อาหารจะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการใด ๆ โดยตรง แต่อาหารก็เป็นอีกหนึ่งวิธีบรรเทาอาการต่าง ๆ ของข้อเข่าเสื่อม เพราะผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารนานาชนิดที่ส่งผลดีต่อร่างกายจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยสารอาหารเหล่านั้นอาจช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดการอักเสบ และช่วยเสริมสร้างข้อกระดูกให้แข็งแรงได้
โดยสารอาหารและตัวอย่างอาหารที่อาจช่วยบร
Related Products


Copyright © 2011-2023 www.365wecare.com | Site Map