● คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจวัดความดัน ●
1. ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิตคือแรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือดแดง ความตัน Systolic เกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว ความดันDiastolic เกิดขึ้นเมื่อหัวใจคลายตัว ความดันโลหิตมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) ความตันโลหิตตามธรรมชาติของบุคคลนั้นแสดงโดยความดัน พื้นฐาน ซึ่งสามารถวัดได้เป็นอย่างแรกในตอนเช้า ในขณะที่ยังคงพักผ่อน และก่อนรับประทานอาหาร
2. ความดันโลหิตสูงคืออะไรและควบคุมอย่างไร
ความดันโลหิตสูงคือความผิดปกติของค่าความดันในผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย สามารถป้องกันได้โดย เปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงความเครียดและทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิธีการป้องกัน โรคความตันโลหิตสูง สามารถทำได้โดย เลิกสูบบุหรี่, ออกกำลังกายเป็นปกติ, ลดอาหารเค็มและหวาน, ตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการควบคุมน้ำหนัก
3. ทำไมต้องทำการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน
การตรวจวัดความดันที่คลินิก หรือโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจก่อให้เกิดการวิตกกังวล และเป็นสาเหตุให้ค่าความดันสูงเกินจริงกว่าการวัดที่บ้านประมาณ 25-30 mmHg การวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นการลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ที่อาจส่งผลต่อค่าความดันโลหิต และควรจัดเก็บรวบรวมข้อมูลผลความตัน เพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในลำดับถัดไป
4. การแบ่งประเภทความดันโลหิตตาม WHO
มาตรฐานในการจัดประเภทความดันโลหิตสูงโดยไม่คำนึงถึงอายุได้ถูก
คิดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Oreanization: WHO) ตามตารางด้านล่าง

หมายเหตุ: ไม่มีคำจำกัดความเกี่ยวกับภาวะ hypopiesia และโดยทั่วไป SYS (ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว)
น้อยกว่า 90 mmHg หรือ DIA (ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว) น้อยกว่า 60mmHg เรียกว่าความดันเลือดต่ำ
5. การเปลี่ยนแปลงของค่าความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตจะเปลี่ยนแปลงทุกวัน และเปลี่ยนตามฤดูกาล โดยปกติจะอยู่ที่ 30-50 mmHg ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่หลากหลายในแต่ละวันโดยปกติแล้วค่าความดันโลหิตจะสูงในขณะที่ทำงาน, เล่น หรือในขณะที่หลับลึก ดังนั้นไม่ควรกังวลเกินไปต่อค่าความดันที่วัดได้ในแต่ละครั้ง ทำการตรวจวัดในเวลาเดียวกันของทุกวัน ตามขั้นตอนของคู่มือการใช้งาน อ่านและทำความเข้าใจประวัติการตรวจวัดทั้งหมด โดยเก็บรวบรวมวันที่ และเวลาในการตรวจวัดความดันเพื่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในลำดับต่อไป
6. เวลาที่ดีในการตรวจวัด
- หลังปัสสาวะ, ก่อนอาหารเช้า
- ก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
- ก่อนทานยา
- ควบคุมอารมณ์และร่างกายให้มั่นคงในทุกๆการตรวจวัดและตรวจวัดเวลาเดิมทุกครั้งของแต่ละวัน
คุณสมบัติของเครื่องวัดความดัน
✿ ขนาด 135 x 98 x 72 มม.
✿ ขนาดสายพันต้นแขน 22 – 45 ซม.
✿ สามารถแสดงวันที่ เวลา กํากับการวัดแต่ละครั้งได้
✿ สามารถแสดงค่าความดันได้ในหน่วย mmHg และ kPa
✿ ใช้แหล่งพลังงานจากถ่านอัลคาไลน์ AA 4 ก้อน หรือใช้กับระบบไฟฟ้าที่บ้าน
✿ ใช้วิธีการวัดแบบ Oscillation mueasurement
✿ หน้าจอ LCD ขนาดใหญ่ สามารถแสดงผลค่าความดัน อัตราการเต้นของหัวใจ ได้อย่างชัดเจน
✿ สามารถวัดค่าความดันโลหิตได้ตั้งแต่ 0 – 300 mmHg
✿ สามารถวัดค่าอัตราการเต้นของหัวใจได้ระหว่าง 40 – 200 ครั้งนาที
✿ ค่าความแม่นยําของความดันโลหิตอยู่ในช่วง ±3 mmHg (±0.4 kPa) และของชีพจร อยู่ในช่วง ±5%
✿ มีระบบเสียงแนะนําการใช้งาน
✿ มีระบบเตือนเมื่อผู้ใช้มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ (IHIS: Irregular heartbeat)
✿ มีสัญลักษณ์แจ้งเตือนการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการตรวจสอบการรัดของผ้าพันแขน
✿ สามารถเก็บข้อมูลการวัดได้ 90 ค่า
✿ สามารถแสดงค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตในการวัด 3 ครั้งล่าสุดได้
✿ หลังไม่มีการใช้งาน 3 นาที เครื่องจะดับอัตโนมัติ
✿ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้งาน ±5℃ ⁓ ±40℃ และความชื้นสัมพัทธ์ 15% – 90%
✿ นำเข้าจากประเทศจีน
✿ รับประกัน 5 ปี จากการใช้งานปกติ
อุปกรณ์ประกอบการใช้งาน
✿ สายพันต้นแขน (BP Cuff) สําหรับรอบวงแขนขนาด 22 – 45 ซม. 1 ชุด
✿ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ขนาด AA 4 ก้อน
✿ อะแดปเตอร์ต่อไฟบ้าน 1 ชิ้น
✿ ถุงผ้าใส่เครื่องและอุปกรณ์ 1 ใบ
✿ คู่มือการใช้งาน (ไทยและอังกฤษ) 1 ชุด
65-2-2-20000743